ประวัติวันสงกรานต์ และ การกำเนิดวันสงกรานต์ สงกรานต์ คือ ประเพณีของประเทศไทย ลาว กัมพูชา พม่า ชนกลุ่มน้อยชาวไตแถบเวียดนาม และมนฑลยูนานของจีน รวมถึงศรีลังกา และประเทศทางตะวันออกของประเทศอินเดีย สันนิษฐานกันว่า ประเพณีสงกรานต์นั้นได้รับวัฒนธรรมมาจากเทศกาลโฮลีในอินเดีย แต่เทศกาลโฮลีจะใช้การสาดสีแทน โดยจะจัดให้มีขึ้นในทุกวันแรม 1 ค่ำ เดือน 4 ซึ่งก็คือเดือนมีนาคม สงกรานต์ เป็นคำในภาษา สันสกฤต ที่หมายถึง การเคลื่อนย้าย โดยเป็นการอุปมาถึงการเคลื่อนย้ายการประทับในจักรราศี หรือการเคลื่อนเข้าสู่ปีใหม่ตามความเชื่อของไทยและบางประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประเพณีสงกรานต์นั้นมีสืบทอดกันมาตั้งแต่โบราณคู่กับตรุษ จึงมักเรียกรวมกันว่า ประเพณีตรุษสงกรานต์ หมายถึง การส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ เดิมทีวันที่จัดสงกรานต์นี้นั้นจะมีการคำนวณทางดาราศาสตร์ แต่ในปัจจุบันได้มีการกำหนดวันที่แน่นอน คือ ตั้งแต่ 13 – 15 เมษายน แต่เดิม วันขึ้นปีใหม่ไทย คือ วันเริ่มปีปฏิทินของไทยจนถึง พ.ศ. 2431 และได้มีการเปลี่ยนแปลงมาเป็นวันที่ 1 เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่จนถึง พ.ศ. 2483
วันคริสต์มาสคือวันอะไร: ความหมายและความสำคัญของวันคริสต์มาส วันคริสต์มาส (Christmas) ถือเป็นเทศกาลฉลองของชาวคริสต์ในวันที่ 25 ธันวาคม เพื่อเฉลิมฉลองวันประสูติของพระเยซู หรือ “พระเมสสิยาห์” ผู้เป็นศาสดาแห่งศาสนาคริสต์ แม้ส่วนใหญ่จะมีความสัมพันธ์กับวัฒนธรรมตะวันตก แต่คริสต์มาสก็เป็นเทศกาลที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายไปทั่วโลก คำว่า “Christmas” นั้นมีที่มาจากคำภาษาอังกฤษโบราณ Cristes-messe (Christ’s Mass) หรือ “การบูชามิสซาของพระคริสตเจ้า” โดยในปัจจุบันคำนี้ก็ได้แปรเปลี่ยนมาเป็นคำว่า Christmas ชาวคริสต์นิยมร่วมพิธีมิสซาในวันคริสต์มาส คริสต์มาส คือวันที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในศาสนาคริสต์ นอกจากจะเป็นโอกาสให้สมาชิกครอบครัวได้มาพบปะเฉลิมฉลองร่วมกันแล้ว แก่นแท้ของคริสต์มาสนั้นอยู่ที่การรำลึกถึงความรักของพระเจ้าที่มีต่อมนุษย์ โดยการโปรดให้บุตรหรือพระเยซูมาเกิดในโลกเพื่อช่วยเหลือมนุษยชาติ